กล่องข้อความ: 		7-50100-001-193  		  ชื่อพื้นเมือง	:  เล็บมือนาง ไม้หม่อง  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Quisqualis indica L.  ชื่อวงศ์	:  COMBRETACEAE  ชื่อสามัญ	:  Rangoon  Creeper  ประโยชน์	:  ไม้เลื้อยประดับซุ้ม

บริเวณที่พบ : บ้านพักครู
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ดอกประดับสีชมพูขาว
ลักษณะทั่วไป :  ไม้เถาเลื้อย  เนื้อแข็ง อายุหลายปี เลื้อยได้ไกลมากกว่า 10 เมตร กิ่งอ่อนนุ่ม กิ่งแก่มีหนาม ทรงพุ่มแน่นทึบ
ต้น : ไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้นแข็งแรง เปลือกสีน้ำตาลปนแดงค่อนข้างเรียบ แตกกิ่งก้าน จำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น
ใบ : ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน  กว้าง 7-9 เซนติเมตร  ยาว 15-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลม
โคนใบมน ขอบใบเรียบ
ดอก : สีขาว  เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีแดง  มีกลิ่นหอมแรงในช่วงค่ำถึงเช้า  ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง
ห้อยลงตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ10-20 ดอก ทยอยบานครั้งละ 3-6 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนกลีบเชื่อมติดกัน
เป็นหลอดยาวมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอก 5 กลีบ รูปแถบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร 
ผล : ผลแห้ง เป็นฝัก รูปไข่ สีน้ำตาลเข้ม มี 1 เมล็ด
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเลื้อยไต่รั้วหรือซุ้ม ต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ แก้ตานขโมย ดอกแห้งใช้ต้มดื่มแก้ท้องเสีย ใบพอกแผลแก้ฝีหนอง ใช้เมล็ดเป็น
การขยายพันธุ์ : การปักชำ การตอนกิ่ง

ลักษณะวิสัย
ลำต้น

กลับหน้าหลัก
ใบ
ดอก
ดอก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้     เล็บมือนาง , ไม้หม่อง    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-193